วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เพิมเติม

http://saowanit.blogspot.com/

มี blog ของอาจารย์เสาวนิตย์ มาให้อ่านกัน
เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สีจากเปลือกมังคุด

ABSTRACT: Mangosteen is the economic plant and mainly grown in Nakhon Si Thammarat area. For fully utilizing local resources, colors extracted from mangoteen leaves normally apply in local textile craft especially tied-dye and batik. The purpose of this research is to study in systematic on extracting the color dyeing from mangosteen leaves for tied-dye and batik. Three different kinds of mangosteen leaves 1) fresh leaves, 2) soaked leaves (9 days soaking) and 3) soak boiling leaves were boiled, followed by filtering unwanted leaves from the color dyeing. Many small pieces of cotton immersed in the color dyeing then in calcium carbonate solution as a mordant. The colorimeter CIE system performed to determine the concentration of dyeing color and color on all cottons after dry. The result shows the color
มวชาการมหาวทยาลยศรปทม ปการศกษา 2550 นที 6 สงหาคม 2550
shade from the darkest to the lightest brown of dyeing color before using, color from hot dyeing and color from cold dyeing, respectively, in fresh leaves case. In the same manner to the fresh leaves, the color shade from the darkest to the lightest brown until orange occurred in soaked leaves case, whereas, purple shade from the darkest to the lightest appears in the case of soak boiling leaves. In conclusion, boiling mangosteen leaves is the efficiently method to extract many different colors for tied-dye and batik in the same manner as the local wisdom did. By doing this, the different color shades of brown, orange and purple from the darkest to the lightest shown in dyeing color before using, the color of hot dyeing and the cold dyeing color, respectively.
KEYWORDS : Colors Extracting, Mangosteen Leave,

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Shibori (ชิโบริ)


Shibori (ชิโบริ)

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มแม่บ้าน ชุมชนต่างๆ ประชาชน
ทั่วไปที่สนใจ

รูปแบบการย้อมผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆมีมากมายหลายวิธี ในประเทศไทยการย้อมผ้าให้เกิดลวดลายนั้นเรียกว่า การมัดย้อม
ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาไทยมาช้านาน และเป็นเอกลักษณ์ของไทย ทั้งยังเป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเรียนรู้และ
ทำเป็นได้โดยง่าย Shibori (ชิโบริ) ก็เช่นกัน
Shibori (ชิโบริ) เป็นรูปแบบการย้อมผ้าให้เกิดลวดลายชนิดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างทั้งใน
ประเทศและในต่างประเทศอีกด้วย กระบวนการทำให้เกิดลวดลายต่างๆมีมากมายหลายวิธี เช่น การพัน-มัด การพับ การพันหลัก
วิธีที่เป็นที่นิยมที่สุดคือการเย็บ ตะเข็บที่นิยมใช้คือ ด้นตะลุย และ เย็บพัน อันเป็นวิธีการกันสี ระยะห่างของแต่ละฝีเย็บคือ 0.5 ซม.
ด้ายที่ใช้เย็บควรมีขนาดใหญ่กว่าด้ายเย็บผ้าปกติ เพื่อที่เวลาดึงรูดและมัดจะได้ไม่หลุดและสามารถเห็นลวดลายได้ชัดเจนเมื่อเวลา
ย้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ด้ายที่ใช้ในการทำ Shibori (ซิโบริ) จะต้องเป็นด้ายที่เหนียวและไม่มีส่วนผสมของเส้นใยธรรมชาติ
เพราะถ้าเป็นเส้นใยธรรมชาติจะทำให้สีที่ใช้ย้อมนั้นแทรกตัวเข้าไปในเส้นด้ายและจะทำให้ไม่เกิดลวดลายบนผ้า กระบวนการย้อมผ้า
แบบ Shibori (ซิโบริ) มีวิธีการหลักๆคือการพัน-มัด การพับ การพันหลัก และการเย็บแล้ว ในแต่ละแบบนั้นยังมีวิธีแยกย่อยลงไปอีก
อาจกล่าวพอสังเขปได้ดังนี้

1. การเย็บแบบ Shishige Nui (ชิชิเกะ นูอิ) เป็นการเย็บผ้าชั้นเดียวแล้วจึงดึงรูดให้แน่น ตามแบบที่วาดไว้เป็นวิธีที่ง่ายและนิยมใช้
มากที่สุด

2. การพับ-เย็บ Ori-Nui Shibori (โอริ นูอิ ชิโบริ) เป็นการพับสันทบผ้าตามเส้นที่วาดไว้ จากนั้นจึงด้นตะลุยหรือเย็บชิดและขนานกับ
สันทบ

3. การเย็บและพัน-มัด MaKi-age Shibori (มากิ อาเกะ ชิโบริ) เป็นการเย็บตามแบบที่วาดไว้และดึงรูดให้แน่นผูกปม แล้วใช้ด้าย
แต่ละเส้นพันไขว้กันและผูกปมให้แน่น

4. การพันหลัก Bomaki Murakumo (โบมากิ มูระกูโม) หลักที่ใช้คือท่อพีวีซี วิธีนี้ใช้สำหรับผ้าที่เป็นชิ้นยาว นำริมผ้าทั้งสองข้าง
มาเย็บต่อกัน เป็นวงให้พอดีกับขนาดของท่อ นำไปสวมและรูดรัดบนท่อ ที่หัวและท้ายให้ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อไม่ให้เลื่อน
การย้อมผ้าไม่ว่าด้วยวิธีการใด ทั้งที่เป็นของชนชาติไทยหรือชนชาติใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีวิธีการที่คล้ายคลึงกัน สามารถนำมา
ปรับ หรือประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดำรงรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญา และกรรมวิธี ทั้งนี้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอด
ความรู้ต่างๆ หากแต่ยังได้เรียนรู้และนำไปใช้หาเลี้ยงชีพได้ และที่สำคัญที่สุดคือเมื่อเราได้รับความรู้ที่หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะ
มากจากที่ใดก็ตาม ก็จะทำให้เรามีความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และผสมผสานสิ่งที่เรามีอยู่เดิมกับสิ่งที่เรา
เรียนรู้มาใหม่ ทำให้ดีขึ้น ทั้งด้านรูปแบบ ลวดลาย และกรรมวิธีต่างๆ ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้
หมายความว่าการมัดย้อมแบบเดิมไม่ดี แต่ถ้ามีการย้อมแบบใหม่เข้ามาแล้ว ทำให้สิ่งที่เรากำลังจะสร้างสรรค์ขึ้นดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
ทำให้เราจึงไม่ลองนำมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาของเรา