Shibori (ชิโบริ)
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มแม่บ้าน ชุมชนต่างๆ ประชาชน
ทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบการย้อมผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆมีมากมายหลายวิธี ในประเทศไทยการย้อมผ้าให้เกิดลวดลายนั้นเรียกว่า การมัดย้อม
ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาไทยมาช้านาน และเป็นเอกลักษณ์ของไทย ทั้งยังเป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเรียนรู้และ
ทำเป็นได้โดยง่าย Shibori (ชิโบริ) ก็เช่นกัน
Shibori (ชิโบริ) เป็นรูปแบบการย้อมผ้าให้เกิดลวดลายชนิดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างทั้งใน
Shibori (ชิโบริ) เป็นรูปแบบการย้อมผ้าให้เกิดลวดลายชนิดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างทั้งใน
ประเทศและในต่างประเทศอีกด้วย กระบวนการทำให้เกิดลวดลายต่างๆมีมากมายหลายวิธี เช่น การพัน-มัด การพับ การพันหลัก
วิธีที่เป็นที่นิยมที่สุดคือการเย็บ ตะเข็บที่นิยมใช้คือ ด้นตะลุย และ เย็บพัน อันเป็นวิธีการกันสี ระยะห่างของแต่ละฝีเย็บคือ 0.5 ซม.
ด้ายที่ใช้เย็บควรมีขนาดใหญ่กว่าด้ายเย็บผ้าปกติ เพื่อที่เวลาดึงรูดและมัดจะได้ไม่หลุดและสามารถเห็นลวดลายได้ชัดเจนเมื่อเวลา
ย้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ด้ายที่ใช้ในการทำ Shibori (ซิโบริ) จะต้องเป็นด้ายที่เหนียวและไม่มีส่วนผสมของเส้นใยธรรมชาติ
เพราะถ้าเป็นเส้นใยธรรมชาติจะทำให้สีที่ใช้ย้อมนั้นแทรกตัวเข้าไปในเส้นด้ายและจะทำให้ไม่เกิดลวดลายบนผ้า กระบวนการย้อมผ้า
แบบ Shibori (ซิโบริ) มีวิธีการหลักๆคือการพัน-มัด การพับ การพันหลัก และการเย็บแล้ว ในแต่ละแบบนั้นยังมีวิธีแยกย่อยลงไปอีก
อาจกล่าวพอสังเขปได้ดังนี้
1. การเย็บแบบ Shishige Nui (ชิชิเกะ นูอิ) เป็นการเย็บผ้าชั้นเดียวแล้วจึงดึงรูดให้แน่น ตามแบบที่วาดไว้เป็นวิธีที่ง่ายและนิยมใช้
มากที่สุด
2. การพับ-เย็บ Ori-Nui Shibori (โอริ นูอิ ชิโบริ) เป็นการพับสันทบผ้าตามเส้นที่วาดไว้ จากนั้นจึงด้นตะลุยหรือเย็บชิดและขนานกับ
สันทบ
3. การเย็บและพัน-มัด MaKi-age Shibori (มากิ อาเกะ ชิโบริ) เป็นการเย็บตามแบบที่วาดไว้และดึงรูดให้แน่นผูกปม แล้วใช้ด้าย
แต่ละเส้นพันไขว้กันและผูกปมให้แน่น
4. การพันหลัก Bomaki Murakumo (โบมากิ มูระกูโม) หลักที่ใช้คือท่อพีวีซี วิธีนี้ใช้สำหรับผ้าที่เป็นชิ้นยาว นำริมผ้าทั้งสองข้าง
มาเย็บต่อกัน เป็นวงให้พอดีกับขนาดของท่อ นำไปสวมและรูดรัดบนท่อ ที่หัวและท้ายให้ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อไม่ให้เลื่อน
การย้อมผ้าไม่ว่าด้วยวิธีการใด ทั้งที่เป็นของชนชาติไทยหรือชนชาติใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีวิธีการที่คล้ายคลึงกัน สามารถนำมา
ปรับ หรือประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดำรงรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญา และกรรมวิธี ทั้งนี้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอด
ความรู้ต่างๆ หากแต่ยังได้เรียนรู้และนำไปใช้หาเลี้ยงชีพได้ และที่สำคัญที่สุดคือเมื่อเราได้รับความรู้ที่หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะ
มากจากที่ใดก็ตาม ก็จะทำให้เรามีความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และผสมผสานสิ่งที่เรามีอยู่เดิมกับสิ่งที่เรา
เรียนรู้มาใหม่ ทำให้ดีขึ้น ทั้งด้านรูปแบบ ลวดลาย และกรรมวิธีต่างๆ ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้
หมายความว่าการมัดย้อมแบบเดิมไม่ดี แต่ถ้ามีการย้อมแบบใหม่เข้ามาแล้ว ทำให้สิ่งที่เรากำลังจะสร้างสรรค์ขึ้นดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
ทำให้เราจึงไม่ลองนำมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาของเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น